parkplus calculator

Parking Value
Calculated

คำนวณพื้นที่การสร้าง เพื่อค้นหาเครื่องจอดรถอัตโนมัติที่เหมาะสมกับพื้นที่ของคุณ

how many car ?

cars

Land price

thb/sq.m.

MD ปาร์คพลัส “อภิราม สีตกะลิน” เทรนด์ใหม่ “ที่จอดรถหุ่นยนต์อัจฉริยะ”

15.07.20

share

MD ปาร์คพลัส “อภิราม สีตกะลิน” เทรนด์ใหม่ “ที่จอดรถหุ่นยนต์อัจฉริยะ”

สัมภาษณ์พิเศษ

ในยุค proptech เฟื่องฟู มีอีกซอกมุมที่กลายเป็นตลาดบูมเงียบและสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเรากำลังพูดถึงธุรกิจที่จอดรถในคอนโดมิเนียมซึ่งมีคนประเมินมูลค่าตลาดรวมปีละ 1 หมื่นล้านบาทกันเลยทีเดียว

ล่าสุด ผู้บริหารคนรุ่นใหม่วัย 37 ปี “อ๊อง-อภิราม สีตกะลิน” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปาร์คพลัส จำกัด คีย์แมนปลุกปั้นธุรกิจที่จอดรถอัจฉริยะจากรายได้หลักสิบล้านเมื่อปี 2556 จนถึงปีปัจจุบันกำลังลุ้นมูลค่างานในมือแตะหลักพันล้านบาท

Q : แผนธุรกิจปาร์คพลัส

ที่จอดรถหุ่นยนต์อัจฉริยะ แนวคิดเป็นโมเดิร์นลักเซอรี่ ในขณะที่ยังมีคอนเวนชั่นนอลปาร์กกิ้ง (ที่จอดรถระบบปกติ) อยู่ด้วยกัน

ผมก่อตั้งปาร์คพลัสตั้งแต่ปี”56 แต่เพิ่งเปิดตัวเป็นทางการสำหรับตลาดโครงการอสังหาริมทรัพย์เมื่อเร็ว ๆ นี้ เป็นพันธมิตรให้กับคอนโดมิเนียม ไฮด์ สุขุมวิท 11 โดยเป็นผู้แทนจำหน่ายและติดตั้งเครื่องจอดรถหุ่นยนต์อัจฉริยะ (Duo Robot Automatic Parking) จากประเทศเกาหลี และถือเป็นการเปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทยด้วย

ซึ่งไฮด์ สุขุมวิท 11 มีห้องชุด 476 ยูนิต แต่มีจำนวนที่จอดรถ 60% หรือ 272 คัน ทำเป็นที่จอดรถอัจฉริยะ 198 คัน ในเมืองไทยการทำที่จอดรถอัจฉริยะไม่ใช่เรื่องใหม่ เท่าที่คลุกคลีมีประสบการณ์ พบว่าปัญหาส่วนใหญ่คือการลืมรหัสจอดรถ ระบบของเราสแกนนิ้วและระบบจดจำใบหน้า face recognition จับโครงสร้างใบหน้า 3 มิติ ลูกค้าสามารถเรียกรถล่วงหน้าพร้อม CCTV แจ้งเตือนเมื่อรถมาถึงจุดรับรถ

เราเป็นเพียงรายเดียวที่มีการประกันภัยอุบัติเหตุ โดยโครงการไฮด์ สุขุมวิท 11 ร่วมกับกรุงไทยพานิชประกันภัย มีวงเงินประกันภัย 400 ล้านบาท จุดแข็งเรื่องบริการหลังการขาย 24 ชั่วโมง ตอนนี้เปิดให้บริการ 2 จุดที่วิภาวดีกับสีลม กำลังจะเปิดแห่งที่ 3 บนถนนวิทยุ ยิ่งนานยิ่งเข้าในเมืองเพราะฐานลูกค้าเยอะ

ส่วนค่าบำรุงรักษาต่ำกว่าระบบปกติ 2 เท่า เพราะโครงสร้าง 70% เป็นโครงสร้างปูน ช่วยเรื่องสั่นสะเทือนและเสียง ไม่รบกวนการพักผ่อนตอนกลางคืน

ผมมั่นใจที่จะบอกว่าติดตั้งระบบนี้แล้วทำให้ประหยัดการลงทุนค่าส่วนกลาง เพราะทุกอย่างเกิดด้านล่าง รปภ. ห้องน้ำ ลิฟต์ ก็ไม่ต้องใช้ (ไม่ต้องสร้าง)

Q : ข้อแตกต่างระบบทั่วไป

ที่จอดรถอัจฉริยะทั่วไปเป็นระบบถาดเหล็กหรือ pallet ต้องขับรถเข้าไปในช่องหรือห้องลิฟต์ก่อน รับน้ำหนักได้ 2.5 ตัน การตรวจสอบขนาดหรือน้ำหนักรถทำครั้งเดียวในห้องลิฟต์ เปรียบเทียบกับระบบหุ่นยนต์ การทำงานแยกอิสระ สามารถรองรับรถ SUV น้ำหนัก 3 ตันได้ การตรวจสอบน้ำหนักรถแบบดับเบิลเช็กลิสต์คือนอกห้องลิฟต์และในห้องจอด

การใช้งานก็สะดวกมากขึ้น จอดรถหน้าห้องลิฟต์จากนั้นหุ่นยนต์จะนำรถเข้าไปจอดให้เอง รองรับรถซูเปอร์คาร์ที่เปิดประตูแบบปีกนกซึ่งต้องใช้พื้นที่กว้างขวางกว่าปกติ เราคำนึงพฤติกรรมการอยู่อาศัยเป็นครอบครัว การจอดและรับรถนอกลิฟต์มีความสะดวกสบายและปลอดภัยสูงกว่า

ตัวหุ่นยนต์รองรับรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดซึ่งมีน้ำหนักมาก ระยะเวลาการจอด 3-5 นาที โดยจอดรถในตำแหน่งดรอปรถใช้เวลา 1 นาที นั่นคือจอดรถได้เร็วกว่าขับไปวนหาที่จอดเอง ดีไซน์ยังรวมถึงมีระบบจัดคิวอัตโนมัติ เช่น ตอนเช้ามีคนออกทำงานพร้อมกัน แตะบัตรพร้อมกันจึงต้องมีระบบคิว เช่น ถ้าคิวพร้อมกัน 5 คัน มีช่องทาง 2 ช่อง ใช้เวลารอ 10 นาที

มูลค่างานของไฮด์ สุขุมวิท 11 อยู่ที่ 80 ล้านสำหรับจอดรถ 198 คัน ไซซ์ช่องจอดยาว 5.5 เมตร กว้าง 2 เมตร ความสูงไม่จำกัด รองรับรถยนต์ลักเซอรี่ซีดาน 1.75 เมตร โครงสร้างเป็นอาคารสูง 6 ชั้น ชั้นละ 33 คัน

ข้อดีคือการเตรียมที่ดินน้อยกว่าปกติ อาคารจอดรถทั่วไปเสียช่องทางเข้า-ออก แรมป์วิ่งขึ้น-ลง ระบบนี้ทำให้ประหยัดพื้นที่ 30% เพราะฉะนั้น คอนโดฯสามารถนำพื้นที่ที่ประหยัดได้เหล่านี้นำมาทำห้องเกมเธียเตอร์หรือพื้นที่ส่วนกลางอื่น ๆ เป็นการใช้สอยพื้นที่ได้ประโยชน์สูงสุด

Q : ตัวระบบนำเข้าจากที่ไหน

ระบบลิฟต์ MP system ของเกาหลีใต้ สาเหตุที่เลือกใช้เทคโนโลยีเกาหลีเพราะธุรกิจดั้งเดิมของครอบครัวเป็นดีลเลอร์รถเกาหลีทั้งเกียและฮุนไดอยู่แล้ว มีความคุ้นเคยกันดี ก่อนหน้าจะนำเข้าระบบของเกาหลี เราทำแบรนด์ยุโรปมาก่อนเพราะติดตั้งในบ้านลักเซอรี่ ซูเปอร์คาร์ ใช้โปรดักต์อิตาลี

โมเดลธุรกิจต้องการรองรับได้ทุกเซ็กเมนต์ เรามีแบรนด์อิตาลีเฉลี่ยค่าใช้จ่ายช่องจอดรถ 4-5 แสนบาท ส่วนใหญ่ไซซ์เล็กจอด 20-30 คัน ถัดมาแบรนด์เกาหลีเฉลี่ย 4 แสนบาท และแบรนด์จีนความเร็วจะต่ำกว่าเหมาะกับคอนโดฯโลว์ไรส์ชานเมือง งบประมาณตกช่องจอดละ 3 แสนกว่าบาท

สัดส่วนรายได้เกาหลีมากสุด 60% ที่เหลืออย่างละ 20% ยุโรปกับจีน ส่วนมาร์จิ้นหรือกำไรธุรกิจนี้ต้องบอกว่าบางมากครับ ไม่ถึง 10%

Q : คอนโดฯเก่าติดตั้งได้ไหม

ตลาดคอนโดฯเก่ายากหน่อยเพราะเพดานตึกเตี้ย ตอนนี้ส่วนใหญ่เรา approach เข้าไปเสนอทำให้กับคอนโดฯสร้างใหม่เป็นหลัก เพราะระบบนี้ดีที่สุดคือติดตั้งและออกแบบตั้งแต่ต้นทาง อายุการใช้งาน โครงสร้าง 30 ปี ทุก 15 ปีอุปกรณ์ไฟฟ้าหมดอายุแน่นอน ต้อง complete overhall

เราเคยเพิ่มคาพาซิตี้ได้ 8 เท่า จากเดิมจอด 30 คัน เพิ่มเป็น 111 คันที่อาคารสำนักงานพร้อมพันธุ์ แต่เจอปัญหาใหม่ช่องทางเข้า-ออกเท่าเดิมก็เลยพัฒนาแอปพลิเคชั่นมาแสดงบนมือถือ ให้รู้ว่ามีช่องจอดไหม เต็มไม่เต็ม อันนี้เราก็ proudly present เพราะเป็นแอปแรกในโลกที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนธันวาคม 60 ให้จองที่จอดรถล่วงหน้า

Q : ให้คนอื่นบำรุงรักษาได้ไหม

ผมแนะนำเลือกใช้บริการหลังการขายอินเฮาส์เพราะตอบโจทย์เรียกใช้ได้ 24 ชั่วโมง การสต๊อกอะไหล่คือเราซึ่งอย่าลืมว่าไม่ใช่ทุกชิ้นหาได้ในเมืองไทย เงื่อนไขปาร์คพลัส 5 ปีแรกฟรีค่าบำรุงรักษา หลังจากนั้นรายได้จะเริ่มกลับเข้ามาที่บริษัท เฉลี่ยค่าใช้จ่าย400 บาท/คัน/เดือน สัญญาทำขั้นต่ำรายปีหรือเลือกบริการรายครั้งก็ได้

Q : โอกาสทางธุรกิจ

ในช่วง 5 ปีที่เราจับตลาดนี้ ปีแรกยังจำกัดตลาดในวงการยานยนต์ เห็นวงจรรายได้จากวงเล็กที่กำลังขยายมากขึ้นทุกปี จุดน่าสนใจมากคือโตได้ปีละ 400-500%

ปีที่เราเริ่มเข้ามามีรายได้หลัก 10 ล้าน จากนั้นรายได้ดับเบิลทุกปี จากหลัก 10 ล้านเป็น 100 ล้าน และ 1,000 ล้าน ปัจจุบันบริษัทมีงานอยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 8 โครงการ มูลค่ารวม 1,000 ล้าน ทำให้กับเครือเอสเอฟ เมเจอร์ นิวาติ (แยกออกมาจากแมกโนเลียส 888 ทองหล่อ) สัดส่วนลูกค้าคอนโดฯเกือบ 60% ที่เหลือก็มีโรงแรม ร้านอาหาร ออฟฟิศในเมืองที่มี pain point เรื่องที่จอดรถ

ในเรื่องรายได้ปีที่แล้วตั้งเป้าไว้ 600 ล้านเราก็จบที่ 1,000 ล้านบาท ปี”61 ครึ่งปีแรกได้ยอดมาแล้ว 500 ล้าน กำลังลุ้นครึ่งปีหลังว่าจะเยอะกว่านี้ไหม ซึ่งธุรกิจนี้มีรายได้ 50% มาจากการซ่อมบำรุง บริการหลังการขายจึงเป็นหัวใจสำคัญ

ตอนนี้ผมตั้งบริษัทย่อย “park2go” เจาะตลาดโครงการลานจอดแล้วจรตามแนวรถไฟฟ้า เพราะการเติบโตของเมืองสร้างโอกาสทางธุรกิจจากปัญหาที่จอดรถไม่พอ

สเต็ปต่อไปเริ่ม localization ในบ้าน ผลิตในประเทศและส่งออกไปยังเพื่อนบ้านทั้งเมียนมา มาเลเซีย ฮ่องกง สิงคโปร์ ผันตัวเองจากผู้ติดตั้งเป็นผู้ผลิตและส่งออก แผนลงทุนเต็มเฟสใช้ที่ดิน 5,000 ไร่ ลงทุนเกือบ 200 ล้านบาท โรงงานใช้ที่ดินเยอะเพราะเวลาผลิตพวกนี้ต้องใช้พื้นที่ประกอบเยอะ ต้องเตรียมพื้นที่รองรับรถได้ 1,000 คันต่อปี

ตอนนี้กำลังคุยรายละเอียด อาจต้องแยกโรงงานผลิตกับโกดังจัดเก็บ สนใจโซน EEC ใน 3 จังหวัดภาคตะวันออกอยู่เหมือนกัน น่าจะได้ข้อยุติในต้นปี”62

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวสารจาก Prachachat https://www.prachachat.net/property/news-177130

Related News

บรรยายพิเศษ Leading change & Business Innovation ณ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)

ถือเป็นเกียรติของเราที่คุณอภิราม สีตกะลิน ผู้บริหารบริษัท Park Plus และ park2go ได้รับเชิญไปบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ Leading change & business innovation เรื่องการให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาที่จอดรถครบวงจร

Duo robot automatic parking จอดรถ 3 นาทีกับมูลค่าตลาดแสนล้าน

ประเทศไทย กับว่าที่สถิติต่างๆ มากมาย อาทิ ค่าน้ำมันแพงติดอันดับโลก เมืองท่องเที่ยวชั้นนำ รถติดอันดับต้นๆ ของโลก เป็นต้น