“อภิราม สีตกะลิน” กับบริษัทที่อุทิศเพื่อกิจการเครื่องจอดรถ ‘ปาร์ค พลัส’ เพียงอย่างเดียว

05.03.20

แต่ละก้าวสู่ความสำเร็จ ต้องลงมือทำ

ความสำเร็จและชื่อเสียงที่ได้มาของนักธุรกิจหนุ่มไฟแรงที่ชื่อ อภิราม สีตกะลิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปาร์ค พลัส จำกัด บอกได้เลยว่าไม่ได้มาแบบฟลุคๆ หรือเพราะโชคช่วย  แต่มาจากความมุ่งมั่น ตั้งใจและลงมือทำจริงของเขา อีกทั้งเมื่อเผชิญกับปัญหาและความผิดพลาด ก็พร้อมที่จะเรียนรู้และแก้ไข ซึ่งหากย้อนกลับไปเมื่อปี 2556 ช่วงที่ชายหนุ่มคนนี้เริ่มก่อตั้งบริษัท ปาร์ค พลัส จำกัด ธุรกิจเกี่ยวกับที่จอดรถ โดยเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องจอดรถอัตโนมัติอย่างเป็นทางการจากแบรนด์ชั้นนำทั้งจากประเทศอิตาลี่ ประเทศเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน ซึ่งรับโปรเจคตั้งแต่ขนาด2คัน จนถึงระดับหลักพันคัน ซึ่งคุณอภิรามพูดถึงธุรกิจของเขาว่า

“ปาร์ค พลัส เป็นบริษัทที่อุทิศเพื่อกิจการเครื่องจอดรถเพียงอย่างเดียว  Parking Solution  และเป็นบริษัทเครื่องจอดรถอัตโนมัติที่ขนาดใหญ่มากที่สุด ด้วยทุนจดทะเบียนชำระเต็มที่ 50 ล้านบาท พร้อมทั้งมีจำนวนโครงการมาที่สุดในประเทศไทย ประเทศกัมพูชา รวมถึง ประเทศในแถบ ASEA อีกทั้งยังเป็นบริษัทเครื่องจอดรถอัตโนมัติเพียงเจ้าเดียวในไทยทีได้รับรองการประกันภัยสูงสุดจาก บริษัทกรุงไทยพาณิชย์ประกันภัย ครับ” 

จากวันนั้นถึงวันนี้ ชื่อเสียงของ บริษัท ปาร์ค พลัส จำกัด ภายใต้การบริหารงานของ  อภิราม สีตกะลิน เป็นที่ยอมรับและได้รับความไว้วางใจจากผู้ประกอบการธุรกิจในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านอสังหาริมทรัพย์ ร้านอาหาร หรือที่พักอาศัยส่วนบุคคล ในเรื่องของโปรเจคที่จอดรถ  ซึ่งต้องยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย กว่าที่เขาจะนำพาองค์กรมาถึงวันนี้ได้  วิสัยทัศน์และแนวทางในการบริหารก็มีส่วนสำคัญ  D-Daytrendyจึงขอเป็นสื่อกลางให้คุณผู้อ่านได้รู้จักชายหนุ่มคนนี้มากขึ้น

จุดเริ่มต้นของธุรกิจ

จากกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการต่อยอดจากธุรกิจรถยนต์ โรงแรม พลังงาน และ เกลือ เราเริ่มต้นจากไอเดียแรกคือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมองว่ามีโอกาสเปิดกว้างและมีลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองอยู่อีกมาก เราต้องการสร้างทางเลือกใหม่ให้กับตลาดที่อยู่อาศัยครับ ซึ่ง แนวคิดแรกของกลุ่มคือต้องการสร้างคอนโดมิเนียม โดยมีที่จอดรถร้อยเปอร์เซ็นต์ในกรุงเทพมหานคร ในระดับราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้และสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากเรามองเห็นสัดส่วนสถิติของยอดรถที่จดทะเบียนสะสมในกรุงเทพฯ และยอดจำนวนประชากรของกรุงเทพฯ  แสดงให้เห็นว่า1คน จะมีรถคนละ 1.5 คัน    คอนโดมิเนียมที่ขายอยู่ในตลาดปัจจุบันมีสัดส่วนที่จอดรถขัดกับสถิตินี้อย่างมาก โดยเฉลี่ยแล้ว 4 ห้อง ต่อที่จอด 1 คัน

ทีมเราใช้เวลา 1 ปีในการออกแบบคอนโดมิเนียม โดยให้มีที่จอดรถธรรมดาเท่ากับจำนวนห้องที่มี    ผลลัพทธ์ออกมาสำเร็จในการออกแบบ แต่ในทางธุรกิจการทำที่จอดรถแบบธรรมดาให้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น ทำให้ราคาขายของห้องสูงกว่าราคาตลาดเกือบ 300% ซึ่งปัญหานี้ทำให้ทีมของเราต้องคิดหาทางออกในการทำสิ่งที่ยังไม่มีใครทำในประเทศไทยมาก่อน  คือ การใช้เครื่องจอดรถในคอนโดมิเนียม 

ต้องยอมรับว่าทีมเรามีความโชคดีในเรื่องพื้นฐานของกำลังคนและ Know how Technology เครื่องจอดรถ   เนื่องจากธุรกิจรถยนต์ของเรามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่พื้นที่ในแต่ละ Dealer (ดีลเลอร์)ไม่สามารถขยายได้ในพื้นที่หลายจุดโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ  ทำให้เรามีโอกาสนำ Technology เครื่องจอดรถจากประเทศอิตาลี OMER มาใช้ตั้งแต่ปี1993 เพื่อแก้ปัญหาเรื่องที่จอดรถอีกทั้งยังได้เปิดตลาดเครื่องจอดรถครั้งแรกในวงการรถยนต์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งถือว่าเป็นบทแรกของวงการเครื่องจอดรถในประเทศไทย ทุกวันนี้วงการรถยนต์ก็ยังเป็นกลุ่มลูกค้าหลักที่มีความสำคัญกับปาร์คพลัส ไม่แพ้กับวงการอสังหาริมทรัพย์ครับ

และครั้งแรกที่ทดลองออกแบบคอนโดมิเนียมพร้อมด้วยเครื่องจอดรถอัตโนมัติ ทำให้ได้พบกับความตื่นต้นและความเป็นไปได้มากมายกับSolutionนี้ เพราะสามารถมีที่จอดรถได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ทั้งยังทำราคาขายที่แข่งขันในตลาดได้อีกด้วย ที่สำคัญมีพื้นที่ขายเพิ่มมากกว่าเดิมถึงสามสิบเปอร์เซ็นต์ ในขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เกี่ยวกับพื้นที่จอดรถ เช่น ค่ายาม ค่าไฟ ก็ต่ำกว่าที่จอดรถธรรมดาอีกต่างหาก และยังทำให้ค้นพบข้อดีอีกมากมาย เช่น ระยะเวลาในการก่อสร้างคอนโดมิเนียมเร็วขึ้นยี่สิบเปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคอนโดมิเนี่ยมที่ใช้อาคารจอดรถแบบธรรมดา, มีที่ดินอีกมากในกรุงเทพฯ ที่ไม่สามารถสร้างอาคารได้เพราะไม่สามารถสร้างที่จอดรถได้เพียงพอตามที่กฎหมายกำหนดได้  แต่ด้วย Parking Solution ของเราสามารถปลดล็อคปัญหานี้ได้ และสร้างความเป็นไปได้อีกมากมายให้กับวงการอสังหาริมทรัพย์ครับ

และจากการค้นพบมากมายนี้ ทำให้ผมและทีมงานกลับมาคิดและทบทวนเส้นทางของพวกเราอีกครั้ง และในปี 2013 จึึงตัดสินใจเปิด  Park Plus  Parking Solution ที่ดีที่สุดในไทยและ ASEAN ขึ้นมา

แนวคิดในการทำงาน ธุรกิจ

ผมมีแนวคิดในการทำงานอยู่ 2 ข้อครับ คือ  จงท้ายทายกับปัญหาที่ยังไม่มีใครแก้  และ ลูกค้า ลูกน้อง ผู้ถือหุ้น มาก่อนบริษัทเสมอ

ปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงาน /ธุรกิจ

ช่วงแรกของการเปิด บริษัท ปาร์ค พลัส มีการพยายามแนะนำ Parking Solution ให้วงการอาสังหาริมทรัพย์  ผมและทีมงานได้ออกไปพบผู้บริหาร และนำเสนองานรูปแบบที่จอดรถอัตโนมัติให้กับบริษัทต่างๆ ตั้งแต่ บริษัท Developer บริษัท Archicture  เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่มีใครสน มีแต่เสียงตำหนิ หัวเราะ รวมถึงการดูถูก  มีบางแห่งที่นำเสนอไม่ถึง 10 นาที ผู้บริหารเข้ามาขอให้จบการนำเสนอพร้อม เชิญให้ออกไปขายฝันที่อื่น ซึ่งที่จริงแล้วลูกค้าที่เปิดใจรับกับโปรเจคของเรากลุ่มแรกไม่ใช่คอนโดมิเนียมนะครับแต่เป็นร้านอาหารและสำนักงานออฟฟิตให้เช่า  ซึ่งต้องขอขอบพระคุณร้านกัลปพฤกษ์  ร้านCoffee bean และอาคารพร้อมพันธุ์ ด้วยนะครับ

เรียนรู้อะไรจากการทำงาน /ธุรกิจ

อย่างแรกเลย ตลาด Blue ocean โล่งสบายในหลักการ แต่

พิศดารในการปฏิบัติจริง  การขาย Product ที่ไม่มีมาก่อนในตลาดมีความยากตั้งแต่การจดทะเบียนบริษัท บุคลาการ การนำเข้า การทำบัญชี รวมถึงเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่างๆ   เรียกว่าทีมเราแทบจะเป็นผู้บุกเบิกใหม่ทั้งหมด 

ตลาด Blue ocean มีอยู่ไม่นาน เมื่อเปิดตลาดใหม่และเริ่มทำยอดขายเริ่มต้นในระดับ 100 ล้าน  แน่นอนว่ามีผู้เล่นมากมายที่ต้องการเข้ามาในตลาดนี้ ปัจจุบันมีผู้นำเข้าอิสระจากประเทศต่างๆ โดยส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน เข้ามาทำตลาดในไทยไม่ต่ำกว่า 10 เจ้า เน้นจุดขายสำคัญที่ราคา

ภายในระยะเวลา 5 ปี ตลาด Blue Ocean ก็กลายเป็นตลาด Red Ocean อย่างรวดเร็ว กำแพงทางการตลาด เช่น การเพิ่มทุนหรือเวลาจากการเป็น First mover ไม่ใช่สิ่งที่จะรักษาพื้นที่ส่วนแบ่งตลาดได้ตลอดไป

ความเร็วคือ Key success facto r( ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจอุตสาหกรรม) ของเรา

ต้องเร็วในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นทางด้าน R&D / Technology Innovation  /การตลาด หรือทางการเงิน

แนวทางในการพัฒนาธุรกิจเพื่อเพิ่มความโดดเด่น

เราได้สร้าง Service Center แห่งที่สองไว้ใจกลางเมืองที่สีลม  (ศูนย์แรกอยู่ที่วิภาวดีรังสิต) และศูนย์ใหม่ในอนคตที่ถนนวิทยุ เพื่อตอบสนองลูกค้าใน zone กรุงเทพฯ ได้อย่างรวดเร็วตลอด 24ชั่วโมง มีการรวบรวมข้อมูลสถานภาพของเครื่องจอดรถและภาพ CCTV จากทุกโครงการมาไว้ที่ศูนย์เพื่อให้การดูแลและการซ่อมบำรุงเป็นไปในแบบ Live service โดยเจ้าหน้าที่สามารถแก้ปัญหาจากระยะไกลได้

เราได้สร้าง Application VR เพื่อช่วยเป็น Engineer ของเราให้กล้องมือถือสำรวจหน้างานและทำแบบจำลองเสร็จได้ภายใน 1 วัน

เราได้จัดตั้ง บริษัท Park2Go เพื่อมาช่วยลูกค้าในการจัดการบริหารที่จอด รวมถึงการสร้างรายได้จากที่จอดรถของลูกค้าผ่านทาง Mobile application P2G ซึ่งเป็น APP แรกในโลกที่สามารถจองที่จอดรถได้ล่วงหน้า

เราได้สร้าง Model ธุรกิจที่จอดรถสาธารณะ Park2Go เพื่อเปิดทางเลือกใหม่ในการเพิ่มมูลค่าให้กับตลาดอสังหาริมทรัพย์

เราได้สร้าง Partnership กับธนาคารเพื่อให้ลูกค้าสามารถเป็นเจ้าของเครื่องจอดรถได้สะดวกขึ้น

เราจะเป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่จะเริ่มการผลิตเครื่องจอดรถในประเทศเพื่อใช้ในประเทศ และการส่งออก เป็นความร่วมมือกับ Partner จากประเทศเกาหลี DYPC และ MPS

เราเป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่ได้รวมระบบชาจร์รถไฟฟ้าเข้ากับเครื่องจอดรถอัตโนมัติ เพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

เราได้จัดตั้บริษัท Silicon Motors พัฒนารถไฟฟ้า RAYTTLE Micro Mobility เพื่ิอใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างจุดจอดรถต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วกรุงเทพ

ไอดอลในการทำงานหรือใช้ชีวิตของคุณคือใคร 

ผู้ที่เป็นต้นแบบหรือจะเรียกว่าเป็นไอดอลของผม คือ คุณพ่อครับ คุณอภิเชต สีตกะลิน   คุณพ่อเป็นคนที่ปลูกฝังวิธีการคิดต่างๆในการทำงานให้กับตัวผม และมีส่วนสำคัญอย่างมากในการก่อตั้ง บริษัท ปาร์ค พลัส   

อีกคนที่เป็นขวัญใจของ Engineer ทั้งโลกคงจะหนีไม่พ้น Elon Musk  ผมชอบเค้าตรงที่เป็น Inventor ที่ทำ Innovation ใหม่ๆ สู่ตลาดและสามารถใช้งานได้จริง ทั้งทาง Function และ Finance   มีหลายคนที่เป็นInventorแต่ไม่สามารถทำ innovation ให้ออกสู่ตลาดได้ เปรียบเหมือนกับการทำของขึ้นมาเพื่อขึ้นหิ้งบูชาและก็อยู่บนหิ้งตลอดไป Elon Musk เป็นไม่กี่คนที่ทำ ”จากหิ้งสู่ห้างได้”

คติหรือปรัชญาในการทำงาน

Soultion Model สำคัญกว่า Business Model  การพยายามแก้ปัญหาให้ลูกค้าสำคัญกว่าการพยายามหาเงินจากลูกค้า

คุณอภิรามยังกล่าวทิ้งท้ายก่อนจบการสนทนาในวันนี้ด้วยว่า

Attitude [ทรรศนะคติ] ของคนในบริษัทคือคันเร่งที่แท้จริงของบริษัท

Attitude [ทรรศนะคติ] เปรียบเสมือนOperating system ของบริษัท

Attitude [ทรรศนะคติ] เกิดจากวัฒนธรรมองกรณ์

ขอขอบคุณข่าวสารจาก http://www.d-daytrendy.com/?r=post_gallery&id=653

RELATED NEWS

 
Parkplus ที่จอดสีลม

ที่จอดรถ4.0 …เฉียบ !!! | @Transport EP.25

22.01.25

 
ปาร์คพลัส

‘ปาร์คพลัส’ ฟุ้ง! สิ้นปีรายได้พันล้าน

16.07.20

 
ลานจอดรถ Park2go

“ปาร์คพลัส” เทเพิ่ม 400 ล้าน แตกไลน์แอปพลิเคชั่นกินรวบที่จอดรถ

15.07.20

 
ปาร์คทูโก บุกตลาดอินโดนีเซีย

ปาร์คทูโก บุกตลาดอินโดนีเซีย

16.07.20

For the best experience, we recommend viewing the site in portrait orientation on mobile devices.